วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ชีวิตคือการต่อสู้อย่างไม่ขาดสาย

 ใจร้อนใช้ไหม?++++ คลิก+++
 ชีวิตคือการต่อสู้อย่างไม่ขาดสาย
  กับเวลาที่เหลืออยู่  ของเราบางคนเหลือเวลาเยอะ  บางท่านเหลือเวลาน้อย  แต่ยังดีที่มีเวลาเหลืออยู่
    เพื่อ  อิสระภาพทางการเงิน  อิสระภาพของเวลา
สุขภาพ  เท่ากับ ความสุข.......
ดูหน้าผู้เขียนสิ  จะเหลือเวลาอีกเท่าไหร่ก็ไม่รู้... เอ้าว่ากันไป  เวลาที่ผ่านมาคงจะเป็นประสบการณ์ที่ดี ที่ไม่ดี มันเป็นบทเรียนที่ราคาแพง.....(บ่นเล็กน้อย)วันนี้เรื่องราวจากเพื่อน โทมัสแหว    เขาเอาควายมาฝาก..ติดตามกันต่อไป

 ชีวิตคือการต่อสู้อย่างไม่ขาดสาย
หัวข้อคิดดีๆๆจากกวีชาวอินเดีย Rabindranath Tagore กวีอินเดีย
........การหัดเดินหัดว่ายน้ำ ต้องอาศัยความมานะบากบั่น ของตัวเราเอง คนอื่นทำแทนไม่ได้ การต่อสู้ชีวิตก็เช่นกัน เราต้องเงยหน้าขึ้นไปข้างหน้าอย่างองอาจทรนง ต้องต่อสู้ ต้องพึ่งลำแข้งของตัวเอง จึงจะหลุดพ้นจากห้วงความทุกข์ยาก ผงาดกายอยู่ในสังคมได้อย่างอาจหาญ  
   ความสำเร็จมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นสิ่งที่แลกมาด้วย ความมานะบากบั่น ถ้าไม่ลงเรี่ยวลงแรง ก็ไม่มีผลให้เก็บเกี่ยว ไม่รดน้ำพรวนดิน ดอกไม้ย่อมไม่ผลิดอกออกผลแบ่งบานให้เราได้ชื่นชม มีแต่คนที่กล้าสู้ กล้าชนะเท่านั้น จึงจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จอยู่เสมอ           ต่อสู้ ต่อสู้ต่อไป จึงเป็นหลักสัจธรรมแห่งชีวิตเรา  เพื่อให้ได้มา ซึ่งอิสรภาพทางการเงิน เวลา สุขภาพ และความสุข passive income
ฟังเพลงให้เพราะ https://www.youtube.com/watch?v=w7Q0Jnnz4Iw&list=PLe9-CtgzNEKZ1REuFXgne7Eec5x-cPthv
     
http://www.งานทําที่บ้าน.ws/methasit
..ช่วงที่ 2 ของรายการ   ว่าไป  ช่วงเรื่องเล่าจากเพื่อน  
                               โทมัส แหว
"Thai Buffalorism."
"ควาย"การท่องเที่ยว
สมัยเรียนในห้องท่องเที่ยว ที่มหาวิทยาลัย
อาจารย์ท่านเล่าว่า ไกด์ทัวร์จะต้องมองหาความเป็นไทยให้เจอ แล้วสิ่งนั้นแหละจะมีค่าที่ลูกทัวร์อยากรู้ และไกด์ คือผู้ที่ต้องถ่ายทอดให้เขาเข้าใจ
แล้วท่านอาจารย์ก็ยกตัวอย่าง บางเรื่อง เพื่อประกอบ เรื่องนั้นคือเรื่อง ไกด์เหลือบเห็นชาวนา กำลังดำนา ก็จอดรถ พาแขกลงทุ่ง ไปดำนา กับชาวนา ไปอธิบาย เล่าเรื่องให้ลูกทัวร์ฟัง
หลายเรื่องที่มีความเป็นไทย ทั้งฝังและแฝง ไว้ในเรื่องหรือสิ่งนั้น ๆ
ถ้าตรง ๆ ก็ได้แก่ มารยาทไทย ประเพณีไทย การแต่งกาย การอยู่การกิน เป็นต้น สิ่งนี้คือ "ฝัง" ไว้ในความเป็นไทยอยู่แล้ว
แต่ที่ "แฝง" ไว้นี่สิ ที่ต้องอาศัยความรอบรู้ ช่างคิด ช่างเล่า ช่างรู้ ของผู้เป็นไกด์นำเที่ยว
"ควาย" แฝงไว้ ในความไทยอย่างไร นะหรือ? ต้องร่ายมาตั้งแต่ ข้าว นา ชาวนา และมาสู่ควาย ต้องนำรู้ให้ได้ตั้งแต่กาลก่อน ชีวิตของชาวนาเป็นอย่างไร และต้องนำเสนอภาพของชาวนาในปัจจุบันให้ลูกทัวร์เห็นด้วย ทั้งในแง่มุมของวิถีชีวิต และเศรษฐกิจ เพื่อนึกให้ได้ว่า การพัฒนา ไปสู่ทิศทางไหน เร็ว ช้า มากน้อยแค่ไหน
วันนี้ ความเป็นจริงแล้ว ควาย นับวันจะหาดูยากเข้าไปทุกที
มีใช้งานจริงตามธรรมนอง ที่ควรจะเป็นนั้น แทบจะพูดได้เต็มปากว่า จะไม่มีแล้ว.

"ใคร ที่ยังใช้ควายไถนา ?"
ใช้จริง ๆ เลี้ยงจริง ๆ เพื่อให้เขาทำหน้าที่ของสัตว์ตัวนี้ที่เขาเป็น จริง ๆ
คือช่วยชาวนาทำนา
ถามคำถามนี้ไป แล้วรอให้ใคร โปรดยกมือขึ้น. ท่านว่าท่านต้องถามบ่อยครั้งแค่ไหน หรือรอนานแค่ไหน หรือถามใครที่ไหน กว่าที่ท่านจะได้คำตอบ..!
เพราะไม่มีแล้วไงครับ. !
แต่การท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีครับ เพราะเรื่องราว แม้จะนานแค่ไหน ที่เรื่องนั้นจบไปแล้ว ในมุมของงานทัวร์ งานไกด์ ต้องนำมาพูด มากล่าว มาเล่าให้ฟัง คำนั้น คล้าย ๆ กับคำว่า "ประวัติศาสตร์" นี่เองแหละครับ
วันนี้ งานทัวร์ของเรา ยังจำเป็นต้องมีควาย เป็น "พระเอกข้างทุ่ง" อยู่อย่างนี้ อีกต่อไป
แม้จะทำได้ไม่มาก แต่ก็คงจะไม่น้อยในแง่ของคุณภาพทัวร์ ที่เราต้องนำเสนอ สู่สายตาของการท่องเที่ยว
แม้จะหาดูได้ยากแล้ว ภาพ "ควาย" กับ "นาข้าว" อยู่ด้วยกัน แต่เราก็ต้องเสาะแสวงหา
ฝากถามไถ่ ทุกท่านว่า ช่วยผมตามหา"ควายไถนา" ทีเถอะ ใครเห็นที่ไหน แจ้งผมทีเถอะ แล้วผมจะไปดู ดูเพื่อสนองอะไรบางอย่างในตัวเอง
เพื่อจะได้อิน (inside) ให้ลึกถึงหัวใจแห่งไกด์ ในแนวทางนี้
ขอแสดงความห่วงใยไปถึงชีวิตทุกชีวิต และหน้าที่ของทุกตัว ที่ยังคงอยู่ ในทำนองคลองการณ์ที่ควรจะเป็น "ควาย"
...แม่ริม เชียงใหม่  โทมัส แหว
กรกฎา 58










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น